Net Design Shop : Ready Shopping site
 
  Member Login

สถิติคนเข้าชมเว็บไซต์




 

” สิวฮอร์โมน เป็นเรื่องภายใน ไม่ใช่ภายนอก การรักษาจึงยากกว่าสิวประเภทอื่นๆมาก

* ทั้งกรรมวิธีที่เยอะ และ ที่สำคัญยาวนาน “

via @DrRungsima

 

 

สิวฮอร์โมนเกิดจาก

 

 

ภาวะไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ในที่นี่หมายถึง ” ฮอร์โมนเพศ “

เราทุกคนจะมีฮอร์โมนทั้งเพศชาย เพศหญิงอยู่ในร่างกาย และ มีสัดส่วนที่ต่างกันในคนแต่ละคน เช่น

     เพศหญิง จะมีฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกายเยอะกว่าสัดส่วนฮอร์โมนเพศชาย

     เพศชาย จะมีฮอร์โมนเพศชายในร่างกายเยอะกว่าสัดส่วนฮอร์โมนเพศหญิง

 

 

การที่ผู้หญิงเกิดสิว อาจเพราะฮอร์โมนเพศชายในร่างกายของเพศหญิงมีสัดส่วนที่สูงกว่าปกติ

 

ทำให้เกิดลักษณะบางประการที่มีผลกระทบต่อผิวหนัง เช่น การที่เพศหญิงมีฮอร์โมนเพศชายในปริมาณสัดส่วนที่สูง ส่งผลให้

  • ผิวมัน
  • รูขุมขนกว้าง
  • ต่อมไขมันขนาดใหญ่
  • ก่อนเริ่มรักษาสิวฮอร์โมน

ต้องแน่ใจว่าเป็นสิวฮอร์โมนที่เกิดจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในร่างกาย เพราะการเกิดสิวลักษณะนี้ดูภายนอก อาจจะยังวัดไม่ได้ว่าเป็นจากฮอร์โมนหรือไม่

 

 

ลักษณะที่เด่นชัดของสิวฮอร์โมน

 

  • สิวจะขึ้น หรือ เห่อทุกครั้งเวลาที่เข้าสู่ช่วงมีประจำเดือน
  • ตำแหน่งสิวฮอร์โมน สิวจะขึ้นรอบปาก , คาง , กราม , ข้างแกม
  • ตุ่มสิวอักเสบ ขนาดใหญ่ รุนแรง เกิดเยอะ

 

ลักษณะของฮอร์โมนที่ไม่สมดุลที่เป็นได้ทั้งวัยรุ่น วัยทอง และอาการมักจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ

 

  • รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยเป็นประจำ
  • รู้สึกร้อนวูบวายภายในร่างกาย
  • รู้สึกจิตใจหดหู่ วิตกกังวล ความจำไม่ค่อยดี
  • รู้สึกปวดศีรษะ
  • น้ำหนักขึ้นหรือลงเร็ว
  • ภาวะบวมน้ำในร่างกาย
  • ผมร่วง
  • เป็นสิว
  • มีอาการก่อนมีประจำเดือน
  • คัดหน้าอก
  • อารมณ์แปรปรวน
  • ไม่มีอารมณ์ทางเพศ

 

 

ดังนั้นก่อนการรักษา สิวฮอร์โมนที่เรื้อรังไม่หาย อาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากภายในจำเป็นต้องมีการวินิจฉัยว่าฮอร์โมนที่ไม่สมดุลนั้นเกิดจากอะไร ?

 

  • คนไข้ผู้หญิงบางคน อาจมีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • คนไข้ผู้หญิงบางคน อาจมีขนขึ้นเยอะกว่าปกติ เช่น หนวด ขนหน้าแข้ง
  • คนไข้ผู้หญิงบางคน อาจมีผิวมันมากกว่าปกติ เป็นสิวอักเสบได้ง่าย และ เยอะ
  • หรือ คนไข้ผู้หญิงบางคน อาจมีถุงน้ำที่รังไข่อยู่เยอะ (ซีสต์)

กรณีสุดท้ายทำให้บางคนจึงอาจต้องทำอัลตราซาวน์ระบบภายในบริเวณช่องท้องด้านล่างโดยสูติแพทย์ เขาจะพิจารณาขนาดของซีสต์ หรือ ถุงน้ำด้านล่าง เขาจะให้ยาปรับสมดุลฮอร์โมนให้รับประทาน ก็เป็นการรักษาถุงน้ำ และ สิวฮอร์โมนไปด้วย แต่ถ้าสุติแพทย์วินิจฉัยว่าถุงน้ำเล็กมากจนไม่ต้องรับประทานยา จึงส่งตัวกลับมารักษาวิธีปกติของสิวฮอร์โมนต่อไป

 

 

การรักษาสิวฮอร์โมนมีดังนี้

 

  • ทายาที่ขึ้นกับลักษณะสิวแต่ละแบบในเวลานั้น ทายาต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือนขึ้นไป
  • ทานยาปฎิชีวนะที่ต้องทานติดต่อกัน 3-6 เดือน เพื่อป้องกันเชื้อสิวเกิดการดื้อยา และ ไม่สามารถหยุดยาได้เร็ว ต้องค่อยๆลด
  • ทานยากรดวิตามินเอ รักษาสิวอักเสบ ข้อดี สิวยุบเร็ว ข้อเสีย สิวเห่อช่วงแรกๆ และ ผลข้างเคียงตับ ไต ไขมันในเลือดสูง ตาแห้ง ปากแห้ง มีผลต่อการพิการของเด็กในครรภ์
  • ทานยาคุม เพื่อปรับฮอร์โมนให้สมดุลควรปรึกษาแพทย์เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงเช่นฝ้า มะเร็งที่กระตุ้นด้วยฮอร์โมน เช่น มะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม
  • การฉายแสง หรือ เลเซอร์ สำหรับคนไข้ที่ไม่ตอบสนองต่อยาทา และ ยาทานหรือดื้อต่อการรักษาวิธีอื่น วิธีนี้จะทำให้สิวอักเสบ รวมถึงรอยแดงสิวลดลง เช่น การฉายแสง PHOTODYNAMIC THERAPY,LED,เลเซอร์ IPL โดยจะทาสารบางชนิดที่ชื่อ ALA เพื่อให้เกิดการดูดซับพลังงานแสง ซึ่งมีผลทำให้ฆ่าเชื้อสิว P.ACNE ได้ ทำให้สิวอักเสบยุบลงรวดเร็ว และช่วยลดการผลิตน้ำมันของต่อมไขมันได้ ข้อดี เห็นผลเร็วภายใน 2 สัปดาห์ ไม่เจ็บ ไม่มีผลข้างเคียงกับการทานยา หรือ ทายา ข้อเสีย เสียเดินทางไปทำนานเป็นชม.ๆ แพง ต้องทำบ่อยเดือนละประมาณ2ครั้ง เพราะเชื้อสิวจะเจริญเติบโตกลับมาอีกภายใน 1 สัปดาห์ และ ผิวเราจะกลับมามันอีกครั้งเป็นปกติ หากทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน
  • ปรับวิถีชีวิตใหม่ – วิธีที่ถ้าทำได้ยั่งยืน ดีต่อสุขภาพ ประหยัด ทานอาหารสดให้มาก (ออแกนิค), เน้นทานอาหารที่มีประโยชน์, ทานกระเทียม, ทานอาหารต้านอนุมูลอิสระ, ทานให้ได้สารอาหารครบ5หมู่ต่อวัน,ทานพืชผักผลไม้เยอะเพื่อเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนและได้ประโยชน์ต่อร่างกาย, ทานกรดไขมันที่จำเป็นที่ให้โอเมก้า3และ6อย่างเพียงพอ, ลดการทานน้ำตาลและไขมันที่เยอะเกินไป ,ลดน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์ที่พอดีอย่าให้น้ำหนักมากไป เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนและพิษส่วนเกินฝังตัวอยู่ในเซลล์ไขมัน,นอนไม่ดึก,ไม่เครียด,ทานอาหารให้ถูกเวลา,ขับถ่ายทุกวัน,ออกกำลังกาย,ใช้ยาทุกประเภทด้วยความจำเป็นเท่านั้นเพื่อลดการทำงานของตับ และ ไต และไม่ให้เกิดพิษสะสม

 

 

สิวฮอร์โมนจะหายได้ไหม

 

สิวฮอร์โมนจะหายได้ก็ต่อเมื่อฮอร์โมนปรับเข้าสู่ภาวะสมดุลซึ่งเป็นได้เนื่องจาก

    อายุที่เพิ่มขึ้นมากฮอร์โมนปรับเข้าสู่ภาวะสมดุลก็หายไปเอง

 

การรักษาสิวฮอร์โมนจึงเป็นแค่การประคับประครองดูแลในระหว่างที่ร่างกายมีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลจากช่วงอายุนึงที่กำลังปรับฮอร์โมนให้อยู่ในภาวะสมดุลเมื่ออายุที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะ ทายา ทานยา เลเซอร์ ฉายแสง รักษาแผลเป็นสิว ป้องกันการเกิดแผลเป็นสิว หรือ การปรับวิถีชีวิตใหม่เพื่อสุขภาพที่ดียั่งยืนตามแบบศาสตร์ตะวันตก


 

ไม่อยากพบแพทย์ มีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรเกี่ยวกับ สิวฮอร์โมน

 

  • หากรู้ว่าช่วงไหนมีประจำเดือนและสิวจะเห่อก็เตรียมยาแต้มสิวให้เรียบร้อย สิวเริ่มขึ้นก็รีบแต้ม

สิวฮอร์โมนอย่าปล่อยทิ้งไว้ให้เห่อ เมื่อสิวมาให้รีบแต้มยา เพื่อลดปัญหาการเกิดแผลเป็นสิว หลุมสิว หรือ สิวไตๆแข็งๆ ถ้าเห่อน้อยกว่า 10 เม็ดเราอาจจะรักษาเองได้ หากเกินแนะนำให้พบแพทย์

 

 

 


ขอบพระคุณเนื้อหา

- แกะเทปสัมภาษณ์ ผศ. พญ. รังสิมา วณิชภักดีเดชา

- เนื้อหา การดูแลระบบภายในจาก คุณบีม http://bye-bye2acne.blogspot.com/2011/05/blog-post.html

 

Copyright 2015 (C) acno10shop.com All rights